วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน



แหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์

หลักการค้นหา

1. มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องการ
2. รู้วิธีเข้าเว็บไซต์ต่างๆ
3. รู้วิธีใช้โปรแกรมสืบค้นข้อมูล
4. รู้จักรพิจารราข้อมูล

การค้นหาข้อมูล

1. อินทราเน็ต
2. เอกซ์ทราเน็ต
3. อินเตอร์เน็ต
4. รูปแบบของข้อมูลในเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ

การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
       
      1.  เว็บไซต์ (Website)  หมายถึง  ที่ตั้งเครือข่ายข้อมูลที่เชื่อมโยงติดต่อกันได้ทั่วทุกมุมโลกโดยการค้นหาข้อมูลในแต่ละเว็บไซต์จะต้องทราบชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการหาข้อมูลนั้น ๆ หรือสามารถค้นหา
เว็บไซต์ที่เราต้องการค้นคว้าผ่านทางเว็บไซต์ที่เปิดบริการให้ค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยได้ที่ www.google.com  www.yahoo.com  www.sanook.com  เป็นต้น
                    1.1  การค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ตามคำหลัก  จะต้องอาศัยการประมวลข้อมูลที่ต้องการค้นหาออกมาเป็นคำหลัก  (keyword)  ให้ได้ก่อน
                    1.2  การสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ตามหมวดหมู่ที่ทางเว็บไซต์ได้แบ่งหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจนทำให้สะดวกมากขึ้น  โดยการจัดหมวดหมู่ของแต่ละเว็บไซต์จะแตกต่างกัน
      2.  ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  ห้องสมุดประเภทนี้จะแตกต่างจากห้องสมุดทั่วไปเพราะสามารถใช้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต  การค้นหาข้อมูลสะดวก  รวดเร็ว  โดยสามารถค้นคว้าได้จากชื่อเรื่อง  หัวเรื่อง ชื่อหนังสือ  ชื่อผู้แต่ง  เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN)  เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN)  สำนักพิมพ์  ปีที่พิมพ์  เป็นต้น  ซึ่งการค้นคว้าในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์สามารถระบุข้อมูลหรือเงื่อนไขเฉพาะได้ชัดเจน  เช่น  ต้องการทราบผลงานของสุนทรภู่  เฉพาะเกี่ยวกับนิราศก็สามารถระบุเงื่อนไขที่เกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง  คือ  สุนทรภู่  และระบุหัวข้อเรื่อง  คือ  นิราศ  ระบบสามารถประมวลผลงานของสุนทรภู่เฉพาะเรื่องที่เป็นนิราศเท่านั้น
     3.  ฐานข้อมูลออนไลน์  ฐานข้อมูล  คือ  แหล่งจัดเก็บข้อมูลหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง  หรือหมายหัวข้อที่รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง  จำนวนข้อมูลในฐานข้อมูลมักมีมากมายนับหมื่น แสน หรือล้านรายการ
          ออนไลน์ (online)  เป็นคำทับศัพท์  หมายถึง  การเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ให้ได้ตรงตามความต้องการ  อาจใช้เทคนิคง่าย ๆ เข้าช่วย  ดังนี้
                    1.  ทำความเข้าใจความหมายของคำเชื่อมที่สำคัญ 3 คำ  คือ
                              "และ"                    ใช้เพื่อจำกัดขอบเขตของข้อมูลให้แคบลง
                              ตัวอย่าง  ระบุว่า  "ว.วินิจฉัยกุล"  และ  "เรื่องสั้น"  ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลของ ว.วินิจฉัยกุล  เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องสั้นเท่านั้น  จะไม่ปรากฎเรื่องราวด้านอื่น ๆ เลย
                              "หรือ"                    ใช้เพื่อเพิ่มขอบเขตของข้อมูลให้กว้างขึ้น
                              ตัวอย่าง  ระบุว่า  "ว.วินิจฉัยกุล"  หรือ  "ทมยันตี"  ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลที่เกี่ยวกับ  ว.วินิจฉัยกุล  และทมยันตี  ทั้งหมดที่มีอยู่ในฐานข้อมูลนั้น
                              "ไม่"                       ใช้เพื่อลดขอบเขตของข้อมูล
                              ตัวอย่าง  ระบุว่า  "ว.วินิจฉัยกุล"  ไม่  "ประวัติ"  ข้อมูลที่ได้จะเน้นเรื่องราวของ  ว.วินิจฉัยกุลทุกด้าน  จะไม่มีเรื่องเกี่ยวกับประวัติชีวิตของ ว.วินิจฉัยกุล  เลย
                    2.  ใช้สัญลักษณ์  หากไม่ทราบวิธีสะกดคำที่ถูกต้อง
                              เครื่องหมายคำถาม ?                    ใช้แทนอักษร 1 ตัว
                              เครื่องหมายดอกจัน*                    ใช้แทนอักษรหลายตัว
                              ตัวอย่าง  ต้องการค้นเรื่องวิญญาณ  แต่ไม่แน่ใจหรือไม่ทราบว่าตัวสะกดเป็น ณ หรือ น ให้พิมพ์ "วิญญา?"
                              ต้องการค้นเรื่อง  ปัญจวัคคีย์  แต่ไม่แน่ใจตัวการันต์ให้พิมพ์  ปัญจวัคคี*
                    3.  ฐานข้อมูลอีริก (ERIC database)  ซึ่งเป็นฐานข้อมูลด้านการศึกษาให้ใช้คำว่า  NEAR  สำหรับการค้นที่รวมคำที่ใกล้เคียงกับคำที่ต้องการด้วย

ที่มาแะได้รับอนุญาตจาก : 
บุญลักษณ์  เอี่ยมสำอางค์  เกื้อกมล  พฤกษประมูล และโสภิต  พิทักษ์. ภาษาไทย  หลักการใช้ภาษาและการใช้ภาษา ม.4. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.



คำแนะนำการใช้ Google

วิธีใช้ Google.com อย่างมืออาชีพ (อ้างอิงจากเวป Google ภาษาอังกฤษ)
     1. Google จะใช้ and (และ) อยู่ในประโยคเสมอ
เช่น ค้นหา harvest moon back to nature
Google จะค้นหาแบบ harvest AND moon AND back...
(พูดง่ายๆคือค้นหาแบบแยกคำ)

     2. การใช้ OR (หรือ) คือการให้ Google หาข้อมูลมากขึ้นจาก คำA และ คำB (พูดง่ายๆ คือนำผลที่ได้
มารวมกันรวมกัน)
วิธีใช้ พิมพ์ OR ด้วยตัวใหญ่ระหว่างคำที่ต้องการ
เช่น vacation london OR paris
คือหาทั้งใน London และ Paris

     3. Google จะละคำทั่วๆไป (เช่น the, to, of) และตัวอักษรเดี่ยว เพราะจะทำให้ค้นหาช้าลง แต่ถ้าคำ
พวกนั้นสามารถช่วยให้หาข้อมูลง่ายขึ้น ก็ต้องใช้เครื่องหมาย + ช่วยโดยนำไปอยู่หน้าคำนั้น (ต้อง
เว้นวรรคก่อนด้วย)
เช่น back +to nature
final fantasy +x

     4. Google สามารถกันขอบเขตการค้นหาให้เล็กลงด้วยการใช้ Advanced Search หรือ การค้นหา
แบบพิเศษ ใน Google ภาษาไทย

     5. Google สามารถตัดคำพ้องรูปได้โดยใช้เครื่องหมาย - ช่วยโดยการนำไปอยู่คำที่จะตัด
เช่น คำว่า bass มี 2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลา และดนดรีเราจะตัดที่มีความหมายเกี่ยว
กับดนตรีออกโดยพิมพ์
bass -music    หมายความว่า bass ที่ไม่มีคำว่า music นอกจากนี้มันยังสามารถตัดอย่างอื่นได้อีก เช่น "front mission 3" -filetype:pdf หมายความว่า เรื่องเกี่ยวกับ front mission 3 แต่ไม่แสดงไฟล์ PDF

     6. การค้นหาแบบทั้งวลี (คือการค้นหาทั้งกลุ่มคำ) ให้ใช้เครื่องหมาย " "
เช่น "Breath of fire IV"

     7. Google สามารถแปลเวปภาษา Italian, French, Spanish, German, และ Portuguese เป็น
ภาษาอังกฤษได้ (โดยคลิ้กที่คำว่า "Translate this page" ด้านข้างชื่อเวป)

     8. Google สามารถหาไฟล์ในรูปแบบอื่นๆที่ไม่ใช่ HTML ได้ ประเภทไฟล์ที่รองรับคือ

Adobe Portable Document Format (pdf)
Adobe PostScript (ps)
Lotus 1-2-3 (wk1, wk2, wk3, wk4, wk5, wki, wks, wku)
Lotus WordPro (lwp)
MacWrite (mw)
Microsoft Excel (xls)
Microsoft PowerPoint (ppt)
Microsoft Word (doc)
Microsoft Works (wks, wps, wdb)
Microsoft Write (wri)
Rich Text Format (rtf)
Text (ans, txt)

     วิธีใช้ filetype:นามสกุลของไฟล์
เช่น "Chrono Cross" filetype:pdf
หมายความว่าเอกสารของ Chrono Cross ที่เป็น PDF
และมันยังมีความสามารถดูไฟล์เหล่านั้นในรูปแบบของ HTML ได้ (โดยคลิ้ก View as HTML หรือ
รูปแบบ HTML ใน Google ไทย)

     9. Google สามารถเก็บ Cached ของเวปที่จะเข้าชมไว้ได้ (โดยคลิ้กที่ Cached หรือ ถูกเก็บไว้ ใน
Google ภาษาไทย) ประโยชน์ของมันคือช่วยให้เราสามารถเข้าเวปบางเวปที่อาจโดนลบไปแล้ว โดย
ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลก่อนถูกลบ (ใหม่สุดที่มันจะมีได้)

     10.Google สามารถค้นหาหน้าที่คล้ายกัน (โดยคลิ้ก Similar pages หรือ หน้าที่คล้ายกัน ใน Google
ภาษาไทย) โดยจะค้นหาข้อมูลที่คล้ายๆ กันให้เรา เช่น ถ้าเรากำลังหาข้อมูลการวิจัย ความสามารถนี้จะ
ช่วยให้หาข้อมูลได้มากมายในเวลาที่รวดเร็วโดยไม่ต้องเป็นห่วงเรื่อง keyword

     11.Google สามารถค้นหา link ทั้งหมดที่เชื่อมไปยังเวปนั้นได้
วิธีใช้ link:ชื่อ URL
เช่น link:www.google.com
และคุณไม่สามารถใช้ความสามารถนี้ร่วมกับการหาแบบอื่นๆ ได้

     12.Google สามารถค้นหาเวปที่จำเพาะเจาะจงได้ โดยพิมพ์
คำที่คุณต้องการเจาะจง site:ชื่อ URL
เช่น ถ้าคุณต้องการหาเวปเกี่ยวกับการเข้า (admission) มหาวิทยาลัย Stanford ให้พิมพ์
admission site:www.stanford.edu

     13.ถ้าคุณมีเวลาน้อย (และคิดว่าโชคดี) Google มีบริการการค้นหาด่วน (ชื่อบริการ I'm Feeling
Lucky) โดยที่ Google จะนำเวปที่อยู่ลำดับแรกของการค้นหา ส่งให้คุณเลย (link ไปเวปนั้นให้เสร็จ)
เช่น คุณต้องการค้นหาเวปมหาวิทยาลัย Stanford อย่างด่วนให้พิมพ์
Stanford แล้วกด I'm Feeling Lucky หรือ โชคเข้าข้างเราแน่ ใน Google ไทย

     14.Google สามารถหาแผนที่ของสหรัฐอเมริกาได้โดยพิมพ์ ที่อยู่ ชื่อถนน พร้อมด้วยชื่อรัฐ
เช่น 165 University Ave Palo Alto CA
Google จะจัดการส่งแผนที่คุณภาพสูงมาให้คุณ

     15.Google สามารถหาเบอร์โทร (เฉพาะอเมริกา) หรือพิมพ์เบอร์โทรแล้วหาบริษัทได้โดยพิมพ์

first name (or first initial), last name, city (state is optional)
first name (or first initial), last name, state
first name (or first initial), last name, area code
first name (or first initial), last name, zip code
phone number, including area code
last name, city, state
last name, zip code

แล้วแต่ว่าคุณจะใช้แบบไหน

     16.Google สามารถค้นหา Catalog สินค้าได้ (เข้าไปที่ http://catalogs.google.com)/

     17.Google สามารถเก็บข้อมูลลักษณะการใช้ที่คุณต้องการได้โดยเข้าไปที่
Preferences หรือ ตัวเลือก ใน Google ไทย

อ้างอิง
เอกสารโดย เอกพล ชูเชิด
จาก : _Q) - 13/05/2002 15:11


ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  หรือ  E-mail  

     ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Mail หรือที่เราเรียกกันอย่างสั้น ๆ ว่า E-mail  ซึ่งเป็นการ
รับ-ส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) ไปยังผู้รับที่อาจจะ อยู่ที่ใดก็ได้ในโลก การใช้งานอีเมล์ท าให้เราสามารถติดต่อกับผู้คนทั่วโลกได้ทันที โดยที่เราสามารถรับและตอบจดหมายกลับได้ภายในเวลาไม่กี่นาที  ท าให้ผู้ใช้งานมีความสะดวกรวดเร็วและรู้สึกเพลิดเพลินกับการติดต่อสื่อสารกับผู้คนทั่วทุกมุมโลก จะสั้นหรือยาว การรับส่งอีเมล์ในระบบเครือข่ายจะเป็นไปอย่างถูกต้องได้นั้นจะต้องอาศัยที่อยู่ของทั้งผู้ส่งและผู้รับที่เรียกว่า “อีเมล์แอดเดรส (E-Mail Address)” เป็นตัวอ้างอิง  อีเมล์แอดเดรสนี้เป็นชื่อเฉพาะของผู้ใช้แต่ละคน ภายในชื่อนี้จะระบุว่าเป็นอีเมล์ของผู้ใช้รายใด  ส่งมาจากระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แห่งใด เช่น webmaster@moe.go.th  หมายถึงผู้ใช้ที่มีรหัสว่า webmaster จากระบบเครือข่าย moe.go.th จากชื่อของอีเมล์นี้ก็จะสามารถบอกได้ว่า เป็นจดหมายของ   ผู้ใด ส่งมาจากที่ใดหรือประเทศใด เหมือนกับการส่งจดหมายทั่ว ๆ ไป


อ้างอิง
http://www.saimit.com/Tuckky/Sowwaluck/IT/File%20IT/chapter4.pdf


กระดานข่าวอิเล็กทรอนิคส์ 

     กระดานข่าวอิเล็กทรอนิคส์ (USENET Newsgroup) เป็นเครื่องมือกระจายข่าว จาก เครือข่ายหนึ่ง ไปยังอีกเครือข่าย ยูสเน็ตเป็นการรวมตัวกัน ของกลุ่มสนทนา และอภิปราย ในหัวข้อต่าง ๆ ผ่านทางกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ ในหัวข้อที่กลุ่มนั้นสนใจ มีหัวข้อให้แลกเปลี่ยน ความคิดเห็นหลายหัวข้อ เช่น เรื่องเทคนิค วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ กีฬา ศาสนาปรัชญา อื่น ๆ มากกว่า ๕,๐๐๐ หัวข้อ

อ้างอิง
http://web.ku.ac.th/nk40/nk/data/23/nusn.htm


ห้องสมุด แหล่งเรียนรู้

      ห้องสมุดคือแหล่งรวมและกระจายความรู้ ความคิดและการกระทำเพื่อรวบรวมความรู้ที่บันทึกไว้ในรูปแบบของหนังสือและสื่อความรู้แบบอื่นๆ  ได้มีมานานแล้ว มีทั้งการรวบรวมเพื่อการอ่านแสวงหาความรู้ของแต่ละคน และการรวบรวมให้เป็นแหล่งความรู้สำหรับชุมชนและสังคม ให้เป็นศูนย์กลางแห่งความรู้ ซึ่งทุกคนในชุมชนหรือสังคมนั้นๆ อาจแสวงหาความรู้สำหรับตนเองได้ แหล่งรวบรวมหนังสือและสื่อความรู้ต่างๆ เช่นนี้เรียกว่า  ห้องสมุด หรือหอสมุด มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ และมีพัฒนาการควบคู่ไปกับความเจริญก้าวหน้าทางความรู้
          คำว่า  "สมุด" เป็นคำไทยดั้งเดิมใช้เรียกแผ่นกระดาษที่พับทบไปมาเหมือนพัดด้ามจิ้ว มีขนาดใหญ่พอที่จะเขียนเรื่องราวต่างๆ ลงไว้ พับเป็นปึกหนาประมาณ  ๒-๓  นิ้ว  เรียกว่า  สมุดปึกหนึ่งนับเป็นสมุดเล่มหนึ่ง ถ้าจะเทียบกับภาษาปัจจุบัน สมุดก็คือหนังสือนั่นเอง สมุดเช่นนี้เราใช้มาจนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ยังมีใช้กันอยู่บ้างแม้จะมีการพิมพ์ด้วยเครื่องจักร และมีการเย็บเล่มหนังสือแบบหนังสือของชาวตะวันตกแล้ว บางครั้งเราก็เรียกหนังสือที่เขียนด้วยมือและทำเล่มโดยการพับกระดาษทบกันไปมาเป็นปึกว่า  สมุดไทย  ถ้าเป็นหนังสือทางพระพุทธศาสนา  หรือเป็นของพระมหากษัตริย์ก็เรียกว่า  พระสมุด  เรื่องขนาดยาวอาจประกอบด้วยสมุดไทยหลายปึกหรือหลายเล่ม  สถานที่ซึ่งเก็บรวมสมุดเช่นนี้ จึงได้ชื่อว่า ห้องสมุด หรือหอสมุด


อ้างอิง
http://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?q=%CB%E9%CD%A7%CA%C1%D8%B4&select=1


ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์

     ห้องสมุดเป็นแหล่งสำคัญของชาติในการถ่ายทอดความรู้ ตามประกาศองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งชาติ (UNESCO) ใน “กฎบัตรว่าด้วยหนังสือ” ตั้งแต่ปี 1972 มาจนถึงปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ยังคงยึดมั่นในหลักการดังกล่าว ห้องสมุดจึงได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เมื่อเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ กอปรกับสภาพสังคมที่ให้ความสำคัญกับฐานความรู้ห้องสมุดจึงมีขอบข่ายให้บริการกว้างขวางมากขึ้น และถูกเรียกขานด้วยชื่อที่แตกต่างกันออกไป เช่น ศูนย์ข้อมูลการศึกษา (Educational Material Center) ศูนย์เอกสาร (Document Center) และศูนย์วิทยบริการ (Acadamic Center) (สานปฏิรูป, 2544 : 26)ห้องสมุดเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่จัดเก็บรวบรวมสารสนเทศ และอารยธรรมของมนุษยศาสตร์ในทุกยุคทุกสมัย ระบบและวิธีการจัดเก็บหนังสือและสารสนเทศในห้องสมุดยุคเดิมที่จัดจำแนกประเภทหนังสือและให้บริการต่าง ๆ ในระบบมือทั้งหมดนั้น ไม่สามารถตอบสนองความต้องการการใช้สารสนเทศของผู้บริการในโลกยุคข้อมูลข่าวสารได้ครบถ้วน ห้องสมุดจึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบระบบและวิธีการจัดเก็บเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) อันได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บค้นหาสารสนเทศ และเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่ใช้ในการเชื่อมโยงผู้ใช้กับการฐานข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ในระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกันทั้งภายในห้องสมุดเอง ภายในสถาบัน ระหว่างสถาบัน และระหว่างประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก (สมพิศ, 2539 : 8)
          บทบาทสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานของห้องสมุด คือ การนำมาใช้แก้ปัญหาในเรื่องการจัดเก็บทรัพยากรห้องสมุดที่มีเพิ่มมากขึ้น (Reynolds, 1985 : 208) โดยการจัดเก็บสารสนเทศในห้องสมุดให้เป็นระบบฐานข้อมูลอัตโนมัติที่จัดเก็บสื่อต่าง ๆ ได้ทุกรูปแบบสามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายในระดับต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ห้องสมุดยุคใหม่จึงเปลี่ยนไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและวัฒนธรรมการเรียนรู้ของคนในสังคม ทำให้การดำเนินงานของห้องสมุดเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอนาคต รูปแบบการเสนอข้อมูลของห้องสมุดจะเน้นการเข้าถึงเอกสารเต็มรูป (Full Text) ที่บันทึกอยู่ในสื่อทุกรูปแบบมากขึ้น (น้ำทิพย์, 2542 : 4) ดังที่ สมพิศ ดูศรีพิทักษ์ ได้กล่าวว่า “เมื่อมีการประยุกต์ระบบทางด่วนข้อมูลกับเครือข่ายห้องสมุดก็จะแปรรูปห้องสมุดเดิมเป็นห้องสมุดมัลติมีเดีย (Multimedia Library) หรือห้องสมุดเสมือน (Virtual Library )


ความหมายของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
     E-library  มาจากคำว่า Electronic Library หรือห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  หมายถึง แหล่งความรู้ที่บันทึกข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและให้บริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์หรือผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
     ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  ประกอบด้วยการทำงานของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ห้องสมุดดิจิตอล  ห้องสมุดเสมือน ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เป็นระบบการทำงานของห้องสมุดโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เพื่อให้การทำงานของฝ่ายต่างๆ ในห้องสมุดสามารถทำงานเชื่อมโยงประสานกันได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องทำงานด้วยมือซ้ำหลายๆครั้ง ห้องสมุดดิจิตอล หมายถึง ห้องสมุดที่มีการจัดการและให้บริการเนื้อหาของข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลที่ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาฉบับเต็มได้โดยตรง มีการสร้างหรือจัดหาข้อมูลดิจิตอลมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อความสะดวกในการสืบค้นและให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ห้องสมุดเสมือน หมายถึง สถานที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้คอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันได้ทั่วโลก ห้องสมุดเสมือนจึงเป็นที่รวมแหล่งสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการจัดการอย่างมีระบบและให้บริการค้นคืนสารสนเทศแบบออนไลน์ในระบบเครือข่าย โดยที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงระยะไกลมายังห้องสมุดเพื่อสืบค้นและใช้สารสนเทศของห้องสมุดหรือเชื่อมโยงกับแหล่งสารสนเทศอื่นได้ทุกที่ในระบบเครือข่าย เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
     ดังนั้นความหมายของคำว่าห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  ห้องสมุดดิจิตอลและห้องสมุดเสมือน จึงมีความคล้าคลึงกันในหลายด้าน เช่น การจัดเก็บข้อมูลไว้ในระบบฐานข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) และให้บริการข้อมูลผ่านเครือข่าย แต่มีความแตกต่างในจุดเน้นบางประการ เช่น ห้องสมุดดิจิตอลมีการบริการเนื้อหาข้อมูลโดยตรง ห้องสมุดเสมือนเน้นการเชื่อมโยงข้อมูลจากหลายแหล่งไว้ด้วยกันโดยไม่จำเป็นต้องมีอาคารสถานที่ในการจัดเก็บ เป็นต้น
ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ เป็นผลจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่ก็คงจะคาดการณ์ได้ยากว่าจากห้องสมุด อิเล็กทรอนิกส์และห้องสมุดเสมือนแล้วจะเกิดอะไรขึ้นตามมาอีกความพร้อมที่จะปรับตัวตามสภาพแวดล้อมที่แตกต่างไปจากเดิมคงจะเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ปฎิบัติงานสารนิเทศทั้งหลาย และการเสาะแสวงหาความรู้เพิ่มเติม การเพิ่มพูนทักษะโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีจะทวีความสำคัญยากขึ้น เพราะพัฒนาการของห้องสมุดในอนาคตคงจะเป็นการผสมผสานกันระหว่างความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการสื่อสารที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการบริการสารนิเทศให้แก่ผู้ใช้ ซึ่งส่วนใหญ่คงจะเป็นผู้ใช้ที่ไม่เห็นตัว(Invisibleusers) ที่ใช้บริการผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง

ลักษณะของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
1. การจัดการทรัพยากรสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์
2. ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศโดยทางอิเล็กทรอนิกส์
3. บรรณารักษ์หรือบุคลากรของห้องสมุดสามารถแทรกการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับห้องสมุดได้ เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ได้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์
4. ความสามารถในการจัดเก็บ รวบรวมและนำส่งสารสนเทศสู่ผู้ใช้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์

ประโยชน์ของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
     ประโยชน์ของการพัฒนาห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  คือ การจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบช่วยเพิ่มความรวดเร็ว ในการเข้าถึงข้อมูลหรือค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ในเวลาที่ต้องการเป็นการแพร่กระจายความรู้ให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกยิ่งขึ้นโดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่เช่นเดียวกับการดำเนินงานขององค์กรในลักษณะ  e-Office และ e-Commerce เป็นต้น


แหล่งข้อมูลของประเทศไทยบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์


ความรู้ทั่วไป

ศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ http://www.tkc.go.th

ศูนย์กลางบริการภาครัฐ http://www.ecitizen.go.th/

ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกจังหวัด http://www.thaitambol.net/province/default.asp

ค้นหาเบอร์โทรศัพท์ http://phonebook.tot.co.th/

สมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง http://www.yellowpages.co.th

พยากรณ์อากาศ (กรมอุตุนิยมวิทยา) http://www.tmd.go.th/daily_forecast.php

ตรวจสอบราคาน้ำมัน http://www.eppo.go.th/retail_prices.html

ตรวจสอบสภาพการจราจร (สวพ.91) http://www.trafficbkk.com

ศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการ http://www.gprocurement.go.th

ศูนย์รวมข่าวประกวดราคาของราชการ http://www.bnc.co.th

ยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต http://rdserver.rd.go.th/publish/index.php

จดทะเบียนธุรกิจ http://www.dbd.go.th/thai/register/stat.phtml

แผนที่โลก http://www.sale2thai.com/mapworld/index.php

แผนที่ประเทศไทย http://www.athailand.com

แผนที่กรุงเทพฯ http://www.thailand-map-guide.com/bangkok.php

สร้างสรรค์ความรู้ไอที http://www3.nectec.or.th/index.php?option=com_content&task=section&id=8&Itemid=140

ข้อมูลเกี่ยวกับไวรัส http://thaicert.nectec.or.th
ข้อมูลด้านงานส่งเสริมการเกษตร http://www.yupparaj.ac.th/department/agriculture/link.htm

บทความทางด้านการเกษตร http://www.chonnabot.com

ข่าวสารทางการเกษตรเสนอเนื้อหา และวิชาชีพ http://www.centerthai.com

สาระน่ารู้ภูมิปัญญาไทย เช่น การนวดแผนโบราณ http://www.thaipun.com

ศูนย์ข้อมูลสมุนไพรไทย http://www.thaiherbinfo.com

แหล่งข้อมูลความรู้ทางด้านอุตสาหกรรม http://www.thaiindustrial.com

ข้อมูลสนเทศในสาขามนุษยวิทยา http://www.sac.or.th

ไทยตำบล ดอท เน็ต http://www.thaitambol.net

เรื่องร้องเรียน   

สายด่วนของรัฐบาล 1111 http://www.1111.go.th/

แจ้งเบาะแส/ร้องเรียนกับตำรวจ http://www.police.go.th/complaint.htm

ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย http://www.mahadthai.com/html/index.html

กรุงเทพมหานคร http://www.mahadthai.com/html/index.html

 web site เพื่อการสืบค้นข้อมูล

สามารถสืบค้นข้อมูลทุกประเภททั่วโลก http://www.yahoo.com

เพียงเลือกคำที่ใช้สำหรับค้นหาให้ตรงกับความต้องการ http://www.google.com

มากที่สุด http://www.geocities.com

พจนานุกรมไทย และ อังกฤษ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp

พจนานุกรมภาษาอังกฤษ - อังกฤษ http://www.onelook.com

พจนานุกรม ไทย-อังกฤษ , อังกฤษ - ไทย http://lexitron.nectec.or.th/index.php

 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีต่างประเทศ

อังกฤษ http://www.cabinetoffice.gov.uk/index.asp

ฝรั่งเศส http://www.premier-ministre.gouv.fr/en/

แคนาดา http://pm.go.ca/eng/default.asp

มาเลเซีย http://www.pmo.gov.my/website/webdb.nsf/

นิวซีแลนด์ http://www.primeminister.govt.nz

เดนมาร์ก http://www.stm.dk

สิงคโปร์ http://www.pmo.gov.sg

ญี่ปุ่น http://www.cao.go.jp/index-e.html

ออสเตรเลีย http://www.pmc.gov.au

 กฏหมาย  คำพิพากษาศาลฎีกา


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย http://www.dopa.go.th/law/laws.htm

กฎหมายไทย http://www.kodmhai.com

กฎหมายมหาชนไทย http://www.pub-law.net/source/source_cons_f.html

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา http://www.krisdika.go.th

พรบ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 http://www.pub-law.net/library/act_info.html

 ห้องสมุด

สสวท. http://www.ipst.ac.th/library/index.asp

เอแบค http://library.au.ac.th/

(อื่น ๆ) http://www.school.net.th/library/new/

Home page ที่หน้าสนใจสำหรับชาวห้องสมุด http://www.pantip.com/cfe/library/link/

ห้องสมุดออนไลน์ http://www.jananet.com/directory/References/Library_online/

สถาบันวิจัย 

จุฬาภรณ์ http://www.cri.or.th/cri/

มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย http://www.info.tdri.or.th

สวทช. http://www.nstda.or.th

BIOTEC http://www.biotec.or.th

NECTEC http://www.nectec.or.th

MTEC http://www.mtec.or.th

NANOTEC http://www.nanotec.or.th

ศาสนา และวัฒนธรรม 

ธรรมะไทย http://www.dhammathai.org

พระไตรปิฎก ออน์ไลน์ http://hello.to/tipitaka

มุสลิมไทยไซเบอร์เน็ท http://www.muslimthai.com

มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย http://www.thaiislamiccenter.com

สมาคมพระคลิสตธรรมไทย http://www.thaibible.or.th

ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย http://www.thai4thai.com

มหรสพไทย http://www.anurakthai.com



อ้างอิง
http://www.cabinet.thaigov.go.th/webdirect.htm